วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

ฟิล์มกรองแสง กับกฎหมาย


ฟิล์มกรองแสง กับกฎหมายด้านความเข้ม

ณ ปัจจุบันนี้ไม่มีกฎหมายควบคุมความเข้มของฟิล์มกรองแสงรถยนต์ คิดในแง่ดีเราได้รับความปลอดภัยจากการมองเห็นจากบุคคลภายนอก แต่ในแง่ร้าย มีคนที่ใช้ประโยชน์จากการแอบแฝงตัวเพื่อก่ออาชญากรรมโดยรถยนต์ แต่เรื่องนี้ก็เป็นมุมมอง 2 ด้าน ซึ่งในทางกฎหมายจริงๆแล้วที่กระจกบานหน้าสามารถติดฟิล์มกรองแสงหรือสติ๊กเกอร์เพื่อป้องกันแสงแดดได้ไม่เกินเศษ 1 ส่วน 4 ของกระจก แต่สืบเนื่องจากบ้านเราเป็นเมืองร้อน ทางเจ้าหน้าที่จะเข้าใจและอนุโลมให้ติดตั้ง ฟิล์มกรองแสง แบบเต็มบานได้ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะใช้ดุลยพินิจ เช่น ติดฟิล์มกรองแสง แบบเต็มบานแต่ใช้ ฟิล์มกรองแสง ที่มีความทึบมากจนเกินไป เป็นต้น ดังนั้นฟิล์มกรองแสงแบบบานหน้าเต็มบานควรเลือกใช้ฟิล์มกรองแสงที่ไม่ทึบแสงมากและไม่ควรสะท้อนแสงจนเกินไป


ฟิล์มกรองแสง กับกฎหมายว่าด้วยเรื่องปรอทหรือการสะท้อนแสง

การสะท้อนแสงของ ฟิล์มกรองแสง ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งซึ่งทำให้ผู้บริโภคหลายท่านต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลอกและติดตั้ง ฟิล์มกรองแสง กันมาบ้าง ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่มีกฎหมายที่ควบคุมการสะท้อนแสงของฟิล์มกรองแสงว่าควรจะสะท้อนไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ ประกอบกับทางเจ้าหน้าที่เองก็ไม่ได้มีความพร้อมทางด้านเครื่องไม้เครื่องมือที่จะทำการวัดค่าการสะท้อนของฟิล์มกรองแสง ตรงนี้เองทำให้เกิดความสับสนเป็นอย่างมาก ซึ่งจริงๆแล้วการสะท้อนแสงนั้น หากท่านสังเกตรถยนต์ที่ไม่ได้ติดตั้ง ฟิล์มกรองแสง เช่น รถแท็กซี่ ในบางเวลาที่แสงแดดทำมุมกับกระจก ก็สามารถสะท้อนเข้าตา รบกวนผู้อื่นได้อยู่แล้ว ดังนั้น ฟิล์มกรองแสงที่มีความสะท้อนของโลหะ ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักของการสะท้อนแสง แต่ก็มีรถยนต์ บางคัน นำฟิล์มกรองแสงบางประเภทซึ่งใช้สำหรับในการติดตั้งอาคาร ซึ่งฟิล์มกรองแสงประเภทนี้จะมีค่าการสะท้อนแสงสูงมาติดตั้งในรถยนต์ ซึ่งก็แล้วแต่ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งในเรื่องของดุลยพินิจของการสะท้อนแสงนี้ รวมถึงเรื่อง กันชน กรอบป้ายทะเบียนหรืออุปกรณ์อื่นใดที่ติดตั้งบนตัวรถแล้วรบกวนการมองเห็นของผู้อื่น ทางเจ้าหน้าที่สามารถใช้ดุลยพินิจในส่วนนี้ได้ในการจับกุม


ไม่มีความคิดเห็น: